ย้อนรอย ราชาเงินทุน อดีตมีใว้สอนใจ By autobot - 11:03:00 วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย (ชื่อภาษาอังกฤษในขณะนั้นคือ The Securities Exchange of Thailand) ได้เปิดทำการซื้อขายขึ้นอย่างเป็น ทางการครั้งแรกและได้ทำการเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น “The Stock Exchange of Thailand” (SET) เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534 ในช่วงต้นปี 2522 ยังได้เกิดวิกฤตการณ์ “ราชาเงินทุน” ที่สร้างความตื่นตระหนกให้กับนักลงทุน วิกฤติที่รุมเร้าทั้งภายในและภายนอกทำให้ตลาดหุ้นซบเซายาวนานถึง 4 ปี ปริมาณการซื้อขายหุ้นทั้งปีหดหายไปอย่างรวดเร็วจาก 22,533 ล้านบาท ในปี 2522 เหลือเพียง 2,898 ล้านบาท ในปี 2524 นักเล่นหุ้นทุกคนอยู่ในอาการที่สิ้นหวังดัชนีตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำจากระดับ 259.82 จุด เมื่อต้นปี 2522 เหลือ 149.40 จุด ณ ปลายปี ในปี 2523 ดัชนียังคงตกต่ำต่อเนื่องปิดที่ 124.67 จุด และลดลงเหลือ 106.62 จุดเมื่อปลายปี 2524 คิดเป็นการปรับตัวลงเกือบ 60% ปัญหาเริ่มขึ้น โดยเริ่มต้นจากที่มีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท เมื่อบริษัทได้จดทะเบียนเพิ่มทุน 1,920 ล้านบาทและมีราคาที่เปิดที่ 275 บาท แต่ในระยะเวลาเพียง 1 ปีต่อมาคือ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2521 ราคาหุ้นได้สูงถึง 2,470 บาท โดย ได้ปล่อยสินเชื่อแก่บริษัทในเครือโดยไม่มีหลักประกันเพื่อจุดประสงค์ที่จะ ซื้อหรือปั่นหุ้นของตนเองในตลท. ด้วยเหตุนี้ความมั่นคงของกิจการบริษัทฯ จึงขึ้นอยู่กับราคาหุ้นของบริษัทฯ เอง เมื่อการบริหารงานของบริษัทฯ ไม่มีประสิทธิภาพ เดือนมีนาคม 2522 จึงส่งผลให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในบริษัทฯและราคาหุ้นตกต่ำลงเป็นอันมาก จนทั้งบริษัทฯ และบริษัทในเครือประสบภาวะขาดสภาพคล่องและขาดทุนอย่างรุนแรง เดือนเมษายน 2522 เช็คที่เป็นบริษัทสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้บางฉบับถูกธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงิน ทำให้บริษัทราชาเงินทุนประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องและการขาดเงิน ทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานอย่างมากรวมทั้งปัญหาทางด้านการถอนเ งินฝากอย่างมากเช่นกัน จนเป็นเหตุให้ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเข้าไปควบคุมบริษัทราชาเงินทุน จำกัด วันที่ 20 สิงหาคม 2522 กระทรวงการคลังได้สั่งเพิกถอนใบอนุญาตของบริษัทราชาเงินทุน จำกัด นายเสรี ทรัพย์เจริญ ประธานกรรมการ บริษัท ราชาเงินทุน ถูกจับกุมดำเนินคดี วิกฤตการณ์ครั้งนั้นสร้างความเสียหายค่อนข้างมากแก่ลุกค้าและตล าดหลักทรัพย์ ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อสถาบันการเงินได้เสื่อมคลายลง มีการไถ่ถอนตั๋วสัญญาก่อนกำหนดเป็นอันมาก จนกัดกร่อนฐานการเงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำนวนหนึ่งอย่างต่อเนื่อง รวมแล้ววิกฤตการณ์ของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ทำให้บริษัทต่างๆ ถูกถอนใบอนุญาตในช่วงปี 2526-2528 มากถึง 20 บริษัท และในเดือนพฤศจิกายน 2527 ได้มีการประกาศลดค่าเงินบาทลงอีก 17.3%รัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลือหลายประการเช่น เสริมสภาพคล่อง ลดอัตรามาร์จินเพื่อฟื้นฟูตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดตั้งกองทุนพัฒนาตลาดทุน ฯลฯ 0 Comments Share: บทความใหม่กว่า บทความที่เก่ากว่า You Might Also Like 0 ความคิดเห็น หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น
0 ความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น