ท่านทราบไหมว่า วิกฤตการณ์ทางการเงินสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ คือวิกฤตในตลาดดอกไม้ เมื่อประมาณ 376 ปีก่อน ณ ดินแดนแห่งทุ่งทิวลิปอันมีสีสันสดใส ประเทศเนเธอแลนด์นั่นเอง ที่กล่าวว่าเป็นวิกฤตทางการเงินที่ไม่ค่อยต่างกับสมัยนี้มากนักเพราะว่า เป็นเหตุการณ์ที่มีทั้งการซื้อขายกระดาษ คือสัญญาซื้อขาย มีการเก็งกำไรและปั่นราคากันอย่างบ้าคลั่ง จนก่อฟองสบู่ขึ้นมาในระยะเวลาแค่ 2-3 เดือน แล้วเมื่อราคาสูงจนไปต่อไม่ไหวแล้วฟองสบู่ดอกไม้ก็แตกดังโพล๊ะ เสียงดังสนั่นลั่นไปทั้งฮอลแลนด์ หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงร้องห่มร้องไร้ รำพึงรำพัน ดังขรมไปทั้งเมืองจากคนทุกระดับชั้นที่สิ้นเนื้อประดาตัวไปตามๆกันไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง ขุนนาง พ่อค้า ช่างศิลป์ เพราะหลายคนทุ่มสุดตัวด้วยการขายบ้านขายทรัพย์สินมีค่าเพื่อการลงทุนในตลาด “หัวดอกทิวลิป” หลังจากนั้นบรรยากาศ ความซบเซาของทุกเมืองในฮอลแลนด์ก็เข้ามาแทนที่ และต่อเนื่องไปอีกหลายปี ฝรั่งเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “วิกฤตความคลั่งทิวลิป ( Tulip Monia)” หรือ วิกฤตฟองสบู่ทิวลิป (The Dutch Tuplip Mania Bubble ) สิ่งที่เป็นสินค้าและนำมาเล่น(ซื้อขาย)กันในตลาดมิใช่ดอกทิวลิปหรอกนะครับ แต่เป็นหัวของมัน ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายๆหัวหอม (onion)
หัวดอกทิวลิปแรกๆก็ซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยของจริง ต่อมาก็ซื้อขายกระดาษเป็นสัญญาซื้อขายเปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ เกิดขายซื้อและขายกระดาษ(future contract)เพื่อเก็งกำไรจนราคาพุ่งสูงขึ้นเวอร์ จนขนาดเรือทั้งลำ บ้านทั้งหลังสามารถนำมาแลก หัวดอกทิวลิปพันธุ์ที่เป็นที่นิยมสูงสุดคือ พันธุ์ “ Semper Augustus” ได้แค่หัวเดียวเท่านั้น
เรื่องเล่าที่สะท้อนเหตุการณ์ในช่วงนั้นได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ มีกะลาสีเรือผู้ไร้เดียงสาคนหนึ่งได้หยิบเอาหัวทิวลิปราคาแพงเวอร์ พันธุ์ Semper Augustus ไปทำอาหารด้วยความที่เข้าใจว่าเป็นหอมใหญ่(onion) ผู้เป็นเจ้าของก็ออกตามหาจ้าละหวั่นจนไปพบว่ากะลังหั่นซอยหอมใหญ่หัวนี้อยู่พอดี “เจ้ารู้ไหม ว่าหอมใหญ่ที่เจ้ากะลังจะกินเข้าไปนี้มันมีมูลค่าที่จะสามารถทำอาหารเลี้ยงคนทั้งลำเรือได้เป็นปีเชียวนะ” เจ้าของหัวทิวลิปตะโกนลั่นด้วยอาการหัวเสียอย่างแรง หลังจากนั้นกะลาสีเรือผู้นี้ก็ถูกจำคุกไปหลายเดือน นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าทำนองเดียวกันที่มีหนุ่มนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษเขาเป็นนักพฤกษศาสตร์ ที่เข้าไปท่องเที่ยวในฮอลแลนด์ เมื่อได้เห็นหัวทิวลิปก็เข้าใจว่ามันเป็นหอมหัวใหญ่อีกชนิดเป็นแน่ จึงทำการหั่นผ่าพิสูจน์ เช่นเดียวกัน เขาถูกจับด้วยอาการงุนงงว่า “ผมทำอะไรผิด” เขาถูกพิพากษาให้ติดคุกจะกว่าจะหาเงินมาชดใช้ค่าเสียหายได้
คำถาม : ทำไมหัวทิวลิปจึงมีราคาสูงเว่อร์ขนาดนั้น ?
ในช่วงยุคทองของดัทช์(The Dutch Golden Age) คือในช่วงปี ค.ศ1600-1700 เป็นช่วงแห่งความรุ่งเรืองของเมืองท่าเรือของอัมสเตอดัมส์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการพาณิชย์(collective commerce) เป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรปตะวันตก และผู้คนในเมืองล้วนมีความมั่งคั่งร่ำรวย จากการค้าขายและที่มีหุ้นในบริษัท ดัทช์ อีส อินเดีย (The Dutch East India Company) ที่มีการค้าขายสินค้าหายากนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น จากอินโดนีเซีย และดินแดนต่างๆอันไกลโพ้น จากเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูสุดๆของอัมสเตอดัมส์ นำไปสู่การพัฒนา ด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารกลาง ตลาดพันธบัตร รวมทั้งงานศิลปะ และ สถาปัตยกรรม สินค้าฟุ่มเฟือยหายากในยุคนั้นที่บรรดาคนชั้นสูงผู้มั่งคั่งนิยมสะสมและอวดใช้ในการอวดอ้างฐานะของตน เช่น เครื่องชามสังคโลกสีฟ้าจากจีน เป็นต้น สวนดอกทิวลิป เป็นอีกอย่างที่แสดงฐานะความเป็นคนสำคัญและร่ำรวยในสังคม บ้านไหนมีสวนดอกทิวลิปสีสันงดงามก็จะเป็นการบอกฐานะว่ามีอันจะกินและหรูหรา ในยุคนี้เองการมีสวนดอกทิวลิปที่สวยแปลกตา ได้กลายป็นแฟชั่นของชนชั้นสูงในยุโรป โดยเฉพาะที่ฮอลแลนด์ ต่อมาแค่สวนดอกทิวลิปสีสดสีเดี่ยวอย่างเดียวไม่พอแล้ว ถือว่าเชย(เหมือนสมัยนี้ที่ใครไม่มีไอโฟน ไอแพด ถือว่าเชยแค่มือถือธรรมดาๆไม่หรูอีกต่อไป) บ้านไหนมีคอลเลคชั่นดอกทิวลิปพันธุ์สีผสม เช่น มีสีขาวปนม่วง สีเหลืองปนแดง ฯลฯ ก็จะเทห์และดูหรูสุดๆ โดยพันธุ์ที่เป็นที่คลั่งใคล้และมีมูลค่ามากกว่าสินทรัพย์ใดๆในเวลานั้น คือ Semper Augustus ดังกล่าว ดอกทิวลิปจึงกลายเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่สุดในยุคนั้น ความคลั่งใคล้(mania)ที่ว่า ก็มาจากแฟชั่นของชนชั้นสูงนี้เอง
ทำไมคนยุโรปในยุคนั้นถึงได้คลั่งความงามของดอกทิวลิปนัก เป็นเพราะว่าต้นดอกทิวลิปมิใช่พืชพื้นเมืองของแผ่นดินยุโรป ชาวยุโรปไม่เคยรู้จักมาก่อน ทิวลิปเป็นพืชท้องถิ่นที่มีในแถบตะวันออกกลาง เช่น ตุรกี อิรัก อิหร่าน เมื่อประมาณ ค.ศ.1500 กว่าๆ ท่านสุรต่านจากตุรกีได้ส่งมอบหัวและเมล็ดพันธุ์ทิวลิปไปสู่ดินแดนยุโรป และหลังจากนั้นก็แพร่ขยายไปทุกที่ในยุโรป รวมทั้งได้รับความนิยมในฮอลแลนด์ ในปี 1593 นักพฤกษศาสตร์ของมหาวิยาลัยในฮอลแลนด์ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์ต้นทิวลิปและได้ข้อค้นพบว่าบางสายพันธุ์เจริญเติบโตได้ดีในดินแดนที่มีสภาพอากาศอันเลวร้ายในฤดูหนาวของยุโรป ดอกทิวลิปก็ยิ่งได้รับความนิยมชื่นชอบเป็นอย่างมากในฮอลแลนด์ การพัฒนาสายพันธุ์ต่างๆ ชาวดัทช์เชี่ยวชาญยิ่งนักสืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน ดอกทิวลิปจึงสัญลักษณ์ของชาวดัทช์หรืออยู่ในสายเลือดพวกเขาเสียแล้ว อันเป็นผลจากความคลั่งใคล้ในความงามของมันเมื่อ300-400ปีก่อนนั่นเอง
หลังจากที่ชนชั้นสูงก็นิยมสะสมและโชว์สวนทิวลิปเพื่ออวดฐานะในฮอลแลนด์ เมื่อปี 1634-1636 มีการซื้อขายหัวทิวลิป จนกลายเป็นอุตสาหกรรมการเกษตร คือมีการเพาะหัวทิวลิปขายทีละมากๆ เพื่อสนองความต้องการหัวทิวลิปที่มากกว่า ความสามารถที่จะผลิตได้ เพราะการเพาะหัวทิวลิปจะมีระยะเวลาหลังเพาะปลูกและส่งมอบ การปลูกด้วยเมล็ดจะใช้เวลานาน7-12 ปีจึงทิวลิปจึงจะออกดอก ช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม เท่านั้นดอกทิวลิปจึงจะบาน และบานอยู่แค่1 สัปดาห์ เอง หลังจากนั้นดอกก็เหี่ยวและมีหน่อใหม่ขึ้นมาแทน การซื้อขายหัวดอกทิวลิปจะมีขึ้นฤดูกาลหลังดอกเหี่ยวหลุดไป คือในช่วงเดือน มิถุนายน-กันยายนเท่านั้น ช่วงที่หัวทิวลิปยังอยู่ในดิน ผู้ค้าก็ทำสัญญาซื้อขายกันล่วงหน้า(future contract) ด้วยสัญญาซื้อขายนี่เองที่ผู้ค้า สามารถซื้อขายหัวดอกทิวลิปกันได้ทั้งปี และแล้วการที่ความต้องการของดอกทิวลิปของชนชั้นสูงที่มีมาก ผู้ค้าจึงเริ่มขายกระดาษ คือสัญญาซื้อขายทิวลิปล่วงหน้า (Future contract)เพื่อเก็งกำไร
ผู้คนทุกชนชั้นต่างก็สนใจในตลาดหัวดอกทิวลิปและซื้อขายกันอย่างกว้างขวาง โดยทั่วไปแล้วดอกทิวลิปสีพื้นสีเดี่ยวจะมีราคาน้อยกว่าพันธุ์ที่มีหลากสีในกลีบดอก เช่นที่มีสีม่วงอมขาว ,สีแดงอมเหลือง ฯลฯ ซึ่งที่จริงการที่มีสีแซมเหล่านี้เกิดจากไวรัสทิวลิปน่ะเอง แต่ทิวลิปเหล่านี้ได้รับความนิยมมากและมีการซื้อขายในราคาพรีเมียม
จากปี ค.ศ.1634-1637 ดัชนีราคาหัวดอกทิวลิปของดัทช์ พุ่งขึ้นเริ่มจากแค่1 กวินเดอร์ (guilder)ต่อหัว เป็น 60กวินเดอร์ต่อหัว ผู้ค้าที่เริ่มตั้งแต่ระยะแรกได้กำไรก็นำเงินกำไรและต้นทั้งหมดมาลงทุนค้าขายใหม่ การค้าสัญญามีการนำไปขายคู่กับสินค้าอื่นๆจากบริษัท ดัทช์อีสอินเดียด้วย ช่วงเวลานี้หลายคนขายบ้านทรัพย์สมบัติมีค่า(ทุ่มสุดตัว)เพื่อนาเงินมาลงทุนซื้อหัวทิวลิปเพียงแค่ 2-3 หัวเท่านั้นสำหรับการเพาะพันธุ์ขาย หลายคนร่ำรวยขึ้นจากการค้าหัวทิวลิปอย่างชัดเจน จนไม่มีใครคิดว่า “งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา” ไม่มีใครเฉลียวใจว่า ฟองสบู่ได้เริ่มขึ้นและใกล้จะอวสานแล้ว การเก็งกำไร(speculation)ได้เกิดขึ้นอย่างมากในปี ค.ศ. 1636 คนชั้นสูงก็พนันกันด้วยบ้านหรือทรัพย์สินมูลค่าสูง โดยที่มีการซื้อขายที่ตลาดแลกเปลี่ยนที่อัมสเตอร์ดัม(Amsterdam’stock Exchange)ด้วย ในเวลาเดียวกันก็มีการซื้อขายสัญญาทิวลิปในตลาดแลกเปลี่ยนที่ฝรั่งเศสและลอนดอนด้วยเช่นกัน แต่ราคาไม่สูงเท่าที่ อัมสเตอร์ดัม ส่วนคนชั้นล่างโดยเฉพาะที่เมืองฮาเล็ม(Harrlem)ในฮอลแลนด์ ก็ซื้อขายปั่นราคากันในโรงเหล้า ในช่วงแค่เวลา 3 เดือน( พ.ย. 1636- ม.ค. 1637)ฟองสบู่หัวดอกทิวลิปของดัทช์ก็พองขยายอย่างรวดเร็ว ราคาขึ้นเดือนละ “ซาว” (เป็นภาษาลาวและอิสานแปลว่า 20) และแล้วในที่สุด จุดสูงสุด(peak)ของราคาก็มาถึง เมื่อ เดือนก.พ. 1637 ในโรงเหล้าที่การเสนอขายสัญญาทิวลิปไม่มีใครตอบสนอง จนเกิดบรรยากาศแห่งความวิตกกังวลเข้ามาแทนที่ ทุกคนเริ่มขยับตัวเพื่อขายเมื่อรู้ตัวว่าราคาไม่มีทางสูงกว่านี้ได้อีก แต่ไม่มีใครอยากซื้อ ความตื่นตระหนกเกิดขึ้นทั่วฮอลแลนด์ พวกตัวแทนขายไม่ยอมรับซื้อสัญญาทิวลิปแม้กระทั่งของผู้มีเกียรติในสังคม ก็ยิ่งทำลายความเชื่อมั่นในตลาดหัวดอกทิวลิป ราคาจึงร่วงลงมาอย่างรวดเร็ว ราคาที่เหลือต่อหัวน้อยกว่ามูลค่าการซื้อขายครั้งแรกเสียอีก รัฐบาลเองออกตัวว่าช่วยเหลืออะไรไม่ได้เพราะเป็นการขายแบบการพนัน(gamble) ความโกลาหลจาก ฟองสบู่ที่แตกดังโพล๊ะ ส่งผลให้ผู้ค้าทั้งฮอลแลนด์ต้องพบกับความเจ็บปวด สิ้นเนื้อประดาตัวโดยทั่วกัน เศรษฐกิจในฮอลแลนด์ซบเซาต่อเนื่องไปอีกหลายปี แล้วยุคทองของดัทช์ได้สิ้นสุดลงเช่นกัน(The end of Dutch golden age) ปัจจุบันราคาหัวดอกทิวลิปโดยทั่วไปอยู่ที่ แค่ประมาณ 5-15 กวินเดอร์ (guilder)ต่อหัวเท่านั้นเอง โดยที่ในที่สุดดอกทิวลิป ไร่ดอกทิวลิปได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์และวัฒนธรรมของชาวดัทช์ซึ่งเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี (ในที่สุดในวิกฤตก็ได้สร้างโอกาสทองแบบใหม่แก่ประเทศเนเธอแลนด์)
เจมส์ ฟุลเชอร์ :ปกรณ์ เลศเสถียรชัย(แปล). (2554). ทุนนิยม(Capitalism:A Very Short Introduction ). สำนักพิมพ์ openworlds.พิมพ์ครั้งแรก เมื่อ เมษายน 2554
ผู้คนทุกชนชั้นต่างก็สนใจในตลาดหัวดอกทิวลิปและซื้อขายกันอย่างกว้างขวาง โดยทั่วไปแล้วดอกทิวลิปสีพื้นสีเดี่ยวจะมีราคาน้อยกว่าพันธุ์ที่มีหลากสีในกลีบดอก เช่นที่มีสีม่วงอมขาว ,สีแดงอมเหลือง ฯลฯ ซึ่งที่จริงการที่มีสีแซมเหล่านี้เกิดจากไวรัสทิวลิปน่ะเอง แต่ทิวลิปเหล่านี้ได้รับความนิยมมากและมีการซื้อขายในราคาพรีเมียม
จากปี ค.ศ.1634-1637 ดัชนีราคาหัวดอกทิวลิปของดัทช์ พุ่งขึ้นเริ่มจากแค่1 กวินเดอร์ (guilder)ต่อหัว เป็น 60กวินเดอร์ต่อหัว ผู้ค้าที่เริ่มตั้งแต่ระยะแรกได้กำไรก็นำเงินกำไรและต้นทั้งหมดมาลงทุนค้าขายใหม่ การค้าสัญญามีการนำไปขายคู่กับสินค้าอื่นๆจากบริษัท ดัทช์อีสอินเดียด้วย ช่วงเวลานี้หลายคนขายบ้านทรัพย์สมบัติมีค่า(ทุ่มสุดตัว)เพื่อนาเงินมาลงทุนซื้อหัวทิวลิปเพียงแค่ 2-3 หัวเท่านั้นสำหรับการเพาะพันธุ์ขาย หลายคนร่ำรวยขึ้นจากการค้าหัวทิวลิปอย่างชัดเจน จนไม่มีใครคิดว่า “งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา” ไม่มีใครเฉลียวใจว่า ฟองสบู่ได้เริ่มขึ้นและใกล้จะอวสานแล้ว การเก็งกำไร(speculation)ได้เกิดขึ้นอย่างมากในปี ค.ศ. 1636 คนชั้นสูงก็พนันกันด้วยบ้านหรือทรัพย์สินมูลค่าสูง โดยที่มีการซื้อขายที่ตลาดแลกเปลี่ยนที่อัมสเตอร์ดัม(Amsterdam’stock Exchange)ด้วย ในเวลาเดียวกันก็มีการซื้อขายสัญญาทิวลิปในตลาดแลกเปลี่ยนที่ฝรั่งเศสและลอนดอนด้วยเช่นกัน แต่ราคาไม่สูงเท่าที่ อัมสเตอร์ดัม ส่วนคนชั้นล่างโดยเฉพาะที่เมืองฮาเล็ม(Harrlem)ในฮอลแลนด์ ก็ซื้อขายปั่นราคากันในโรงเหล้า ในช่วงแค่เวลา 3 เดือน( พ.ย. 1636- ม.ค. 1637)ฟองสบู่หัวดอกทิวลิปของดัทช์ก็พองขยายอย่างรวดเร็ว ราคาขึ้นเดือนละ “ซาว” (เป็นภาษาลาวและอิสานแปลว่า 20) และแล้วในที่สุด จุดสูงสุด(peak)ของราคาก็มาถึง เมื่อ เดือนก.พ. 1637 ในโรงเหล้าที่การเสนอขายสัญญาทิวลิปไม่มีใครตอบสนอง จนเกิดบรรยากาศแห่งความวิตกกังวลเข้ามาแทนที่ ทุกคนเริ่มขยับตัวเพื่อขายเมื่อรู้ตัวว่าราคาไม่มีทางสูงกว่านี้ได้อีก แต่ไม่มีใครอยากซื้อ ความตื่นตระหนกเกิดขึ้นทั่วฮอลแลนด์ พวกตัวแทนขายไม่ยอมรับซื้อสัญญาทิวลิปแม้กระทั่งของผู้มีเกียรติในสังคม ก็ยิ่งทำลายความเชื่อมั่นในตลาดหัวดอกทิวลิป ราคาจึงร่วงลงมาอย่างรวดเร็ว ราคาที่เหลือต่อหัวน้อยกว่ามูลค่าการซื้อขายครั้งแรกเสียอีก รัฐบาลเองออกตัวว่าช่วยเหลืออะไรไม่ได้เพราะเป็นการขายแบบการพนัน(gamble) ความโกลาหลจาก ฟองสบู่ที่แตกดังโพล๊ะ ส่งผลให้ผู้ค้าทั้งฮอลแลนด์ต้องพบกับความเจ็บปวด สิ้นเนื้อประดาตัวโดยทั่วกัน เศรษฐกิจในฮอลแลนด์ซบเซาต่อเนื่องไปอีกหลายปี แล้วยุคทองของดัทช์ได้สิ้นสุดลงเช่นกัน(The end of Dutch golden age) ปัจจุบันราคาหัวดอกทิวลิปโดยทั่วไปอยู่ที่ แค่ประมาณ 5-15 กวินเดอร์ (guilder)ต่อหัวเท่านั้นเอง โดยที่ในที่สุดดอกทิวลิป ไร่ดอกทิวลิปได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์และวัฒนธรรมของชาวดัทช์ซึ่งเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี (ในที่สุดในวิกฤตก็ได้สร้างโอกาสทองแบบใหม่แก่ประเทศเนเธอแลนด์)
เจมส์ ฟุลเชอร์ :ปกรณ์ เลศเสถียรชัย(แปล). (2554). ทุนนิยม(Capitalism:A Very Short Introduction ). สำนักพิมพ์ openworlds.พิมพ์ครั้งแรก เมื่อ เมษายน 2554
0 ความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น